ผู้เข้าร่วมการถอดบทเรียนรู้
- รศ.ดร.จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร
- อ.ดร.นุชนาฎ ยูฮันเงาะ
- ผศ.ดร.อารีนา เลิศแสนพร
- ผศ.ดร.พรรณปพร ลีวิโรจน์
- อ.ดร.น้ำผึ้ง มีศิล
- นางลลิญญา ลอยลม
ความเป็นมา
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มุ่งผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคมและเป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานของวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ซึ่งต้องเป็นผู้ที่สามารถพัฒนาองค์ความรู้และเครื่องมือที่ให้การบำบัดและช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง ผศ.ดร.พรรณปพร ลีวิโรจน์เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือในการให้การบำบัดผู้ติดยาเสพติด ดังนั้นจึงได้จัดเวทีเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่คณาจารย์ในคณะและเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
- เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ในการทำวิจัยกับอาจารย์และเจ้าหน้าที่ในคณะ
- เพื่อส่งเสริมให้อาจารย์นำองค์ความรู้ไปต่อยอดหรือมีแนวคิดใหม่ในการทำการวิจัย
- เพื่อเผยแพร่ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อสาธารณะ
การถอดบทเรียน “การวิจัยและพัฒนา”
รศ.ดร.จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ประธานคณะกรรมการจัดการความรู้ของคณะฯ ได้กล่าวเปิดว่า ในช่วงเวลา 4-5 ปีมานี้องค์กรมีการตื่นตัวในด้านการจัดการความรู้ (Knowledge Management) โดยเฉพาะในสถาบันการศึกษานำมาเป็นตัวชี้วัดด้านการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ ซึ่งการถอดบทเรียนในครั้ง ผศ.ดร.พรรณปพร ลีวิโรจน์ จะเป็นผู้นำเสนองานวิจัยและพัฒนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และขอเชิญ อ.ดร.น้ำผึ้ง มีศิล เป็นผู้ดำเนินการถอดบทเรียนในครั้งนี้
ผศ.ดร.พรรณปพร ลีวิโรจน์ นำแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเริ่มจากตัวอาจารย์มีความตระหนักถึงจัดการความรู้ที่ได้รับการอบรมจากมหาวิทยาลัย และพยายามทำวิจัยที่ตอบโจทย์การเรียนการสอน ซึ่งอาจารย์สอนวิชาเฉพาะด้านกลุ่มสังคมสงเคราะห์การแพทย์ ดังนั้นงานวิจัยที่สามารถนำผลมาประยุกต์ใช้ได้เลย ควรเป็นงานวิจัยในลักษณะเชิงปฏิบัติการ ที่สามารถนำผลมาพัฒนากับกลุ่มเป้าหมายได้ จึงสนใจและดำเนินการทำวิจัยในลักษณะนี้มาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

งานวิจัยและพัฒนา ในลักษณะงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เป็นงานวิจัยเพื่อ ให้ได้องค์ความรู้ และสร้างรูปแบบ (Model) เพื่อนำมาพัฒนาคน ซึ่งต้องใช้แนวคิดพฤติกรรมทางจิตวิทยา (Behavior) ด้วยการปรับเปลี่ยนความคิด (Cognitive) ซึ่งเรียกว่าการใช้แนวคิด CBT (Cognitive Behavior Therapy) โดยมีกระบวนการเป็นลำดับขั้น เช่น การพัฒนาโปรแกรมลดการดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นอาชีวศึกษา
ในชั้นที่ 1 ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัย (Grand Theory) ที่เกี่ยวข้องกับความเฉลาดทางอารมณ์ พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ และการปรับความคิดและพฤติกรรม CBT (Cognitive Behavior Therapy)
ขั้นที่ 2 กำหนดจุดมุ่งหมายการพัฒนาโปรแกรมการลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามกระบวนการปรับความคิดและพฤติกรรม 3 ขั้นตอน คือ (1) การประเมินพฤติกรรมความคิด (2) การปรับความคิด (3) วิธีการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ และสามารถลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้
ขั้นที่ 3 กำหนดรูปแบบการพัฒนาโปรแกรม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 10 กิจกรรม จำนวน 10 ครั้ง ๆ ละ 10 สัปดาห์ รวม 10 สัปดาห์ ได้แก่ การรประเมินความคิด มี 2 กิจกรรม คือ การปฐมนิเทศและสร้างสัมพันธภาพ การวิเคราะห์ผลดี ผลเสียของการดื่มแอลกอฮอล์ และการปรับความคิดและพฤติกรรม มี 2 กิจกรรม คือ การค้นหาและปรับความคิดที่ทำให้ดื่มแอลกอฮอล์ ปรับความคิดด้วยการใช้ถ้อยคำใหม่ และวิธีการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ รวมถึงการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้วย
ขั้นที่ 4 นำร่องกับกลุ่มอาชีวศึกษา จำนวน 10 คน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
ขั้นที่ 5 ตรวจสอบความถูกต้องตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ
ขั้นที่ 6 นำไปทดลองใช้กับกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษาที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง
ขั้นที่ 7 จัดทำคู่มือเพื่อนำไปใช้ในการทดลอง
แต่อย่างไรก็ตามการวิจัยในลักษณะนี้อาจจะไม่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายจิตเวช เนื่องจากต้องคำนึง Here and Now มาเป็นพื้นฐานของตัวแปร ต้องปรับความคิด (Creative) มาเป็นของเราเอง เพื่อให้เกิดการฝึกสติในรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
รศ.ดร.จตุรงค์ ได้เสนอว่าจากการฟังแล้วเราจะพบว่าการวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) หรือ R & D ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหา ด้วยการหารูปแบบเพื่อนำมาสู่การพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อกลุ่มเป้าหมายนั้น ๆ หรือเพื่อให้เกิดการพัฒนาการปฏิบัติงาน
ผศ.ดร.อารีนา ได้มีเสริมประเด็นจาก ผศ.ดร.พรรณปพร นำเสนอ ซึ่งอาจารย์สอนในกลุ่มสังคมสงเคราะห์กระบวนการยุติธรรม และคิดจะทำวิจัยเพื่อต่อยอดกับกลุ่มเป้าหมายผู้ต้องขังในเรือนจำ ที่เขาไม้แก้วและทุ่งเบญจา เป็นเรือนจำที่มีรูปแบบการพัฒนาผู้ต้องขัง โดยที่ไม่ต้องคัดกรองผู้กระทำผิด เนื่องจากทางเรือนจำได้คัดกรองตามมาตรฐานแล้ว แต่ต้องมีการเพิ่มตัวแปร ด้านคุณธรรมจริยธรรมให้มากขึ้น
นอกจากนี้ในที่ประชุมได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปถึงการวิจัยและพัฒนานั้น ควรมีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้

ขั้นตอนของการวิจัยพัฒนา
ขั้นตอนที่สำคัญของการวิจัยเชิงพัฒนาที่ก่อให้เกิดโปรแกรมการบำบัดกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้ติดยาเสพติดและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น คือ
- ศึกษาปัญหา ในเชิงทฤษฎี เช่น ตัวแปร
- มีกรอบของทฤษฎี เช่น Mindfulness cognitive behavior therapy (MCBT) Cognitive Behavior cognitive therapy ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ในโปรแกรมการบำบัดด้านยาเสพติดของสถาบันธัญลักษณ์ (FAST Model) โรงพยาบาลพระมงกุฎ (PMK Model)
- การออกแบบกิจกรรมที่ใช้ในการบำบัด คัดสรรจากกิจกรรมที่ออกแบบจากแนวคิด ทฤษฎีโดยคำนึงถึงความแตกต่างของช่วงวัย โดยไม่ลอกเลียนแบบกิจกรรมของผู้อื่น
- นำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ไปขอรับคำแนะนำเชิงเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญ และให้กลุ่มเป้าหมายได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแบบกิจกรรมและการประเมินผล
- วัดผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการทำกิจกรรม ( pre-test, post-test) จนได้รูปแบบของกิจกรรมที่เหมาะสม
- สรุปผลการจัดกิจกรรมและคู่มือการจัดกิจกรรมบำบัดหรือนวัตกรรมในการบำบัดที่สามารถนำไประยุกต์ใช้ได้ เพื่อการพัฒนางานสังคมสงเคราะห์ในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
แต่อย่างไรก็ตาม ประธานในที่ประชุมได้สรุปว่า การวิจัย R &D สามารถนำมาทำรวมกันในลักษณะ
ของ Mixed Method คือมีทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ แต่ต้องกำหนดให้ชัดว่า ต้องการอะไร ในระหว่างทางเราต้องทำอะไร ให้ออกมาตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นงานวิจัยของ ผศ.ดร.พรรณปพร เป็นการวิจัยและพัฒนาสามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาเครื่องมือเป็นนวัตกรรมในการให้การบำบัดเชิงสังคมสงเคราะห์คลินิก (Clinical Social work) แก่ผู้ที่ประสบปัญหาสังคมกลุ่มต่างๆ ได้ ซึ่งแนวทางการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศฝั่งตะวันตกมีการศึกษาและพัฒนาเครื่องมือการให้ตวามช่วยเหลือเชิงคลินิกผ่านแนวคิด Mindfulness cognitive behavior therapy (MCBT) โดยมุ่งเน้นการปรับพฤติกรรม ซึ่งในประเทศไทยยังขาดแคลนนักวิชาการและนักวิชาชีพที่จะทำการศึกษาและพัฒนาเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมอย่างเป็นระบบและนวัตกรรม
ผลการถอดบทเรียนต่อการนำประยุกต์ใช้งานวิจัยและพัฒนาเพื่อกำหนดทิศทางของคณะฯ
ดังนั้นหากคณะฯต้องการสร้างจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์และเสริมสร้างอัตลักษณ์ของงานสังคมสงเคราะห์ให้โดดเด่นภายใต้กระแสของการเปลี่ยนผ่านในยุคหลังโควิด การส่งเสริมให้คณาจารย์ในคณะทำวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมที่เป็นเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมจะช่วยทำให้การบัดช่วยเหลือในเชิงคลินิกสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำมาซึ่งการเสริมสร้างภาพลักษณ์การทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ให้ชัดเจนขึ้นในมุมมองของสหวิชาชีพ
การวิจัยและพัฒนา (R&D) จะต้องนำกลยุทธทางการวิจัยที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้เพื่อก่อให้เกิดสิ่งใหม่หรือนวัตกรรม ซึ่งจะนำพาคณะไปสู่หลักสูตรเชิงคลินิก และสร้างผู้เรียนให้มีความสามารถทางวิชาชีพ ซึ่งผู้สอนเองจะต้องมีเข็มมุ่งในการพัฒนาในเชิงกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
กรอบของการสนับสนุนให้ทุนวิจัยในระดับคณะจึงมุ่งที่จะส่งเสริมให้เกิดการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านเครื่องมือในการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมในหลายกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งในปี 2564 จะมีผู้รับผิดชอบและทีมในการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือเชิงคลินิก ดังเช่นที่ ผศ.ดร. พรรณปพร ลีวิโรจน์ ได้ลงมือปฏิบัติแล้ว
การขยายผลของการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือในงานสังคมสงเคราะห์ในกลุ่มผู้ป่วย มีผู้รับผิดชอบหลัก คือ ผศ.ดร. พรรณปพร ลีวิโรจน์ กลุ่มผุ้ต้องขังและผู้ปฏิบัติงานในทัณฑสถาน คือ ผศ.ดร. อารีนา เลิศแสนพร สำหรับกลุ่มครอบครัวและเด็ก ได้แก่ อ.นวลใย วัฒนกูล ทั้งนี้การวิจัยเชิงพัฒนาที่มุ่งเน้นการสร้างเครื่องมือที่เป็นนวัตกรรมในการบำบัดเชิงคลินิกแก่ผู้ประสบปัญหาทางสังคมจะต้องมีทุนและงบประมาณในการศึกษาลัดกิจกรรมจำนวนมาก ดังนั้นคณะจึงจำเป็นต้องขอรับการรับทุนจากมหาวิทยาลัยและเขียนข้อเสนอเพื่อขอรับทุนจากแหล่นทุนอื่น ๆ เพิ่มเติม

ผู้บันทึกการถอดองค์ความรู้ : อ.ดร.น้ำผึ้ง มีศิล